ถอดรหัส “เกาหลีใต้ -สิงคโปร์” ประชาชนอำนาจสูง “ต้านโกง”

ถอดรหัส “เกาหลีใต้ -สิงคโปร์” ประชาชนอำนาจสูง “ต้านโกง”

ถอดรหัส “เกาหลีใต้ -สิงคโปร์” ประชาชนอำนาจสูง "ต้านโกง"
อ่านให้ฟัง

00:03

แม้จะมีการตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2570 ไทยต้องการจะไต่ระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) จาก 35 คะแนน เพื่อเขยิบตัวเลขไปอยู่ที่ 49 คะแนน แต่ดูเหมือนยังไกลจากความหวังพอสมควร หากสถานการณ์ในประเทศยังไม่เอื้ออำนวย

ในปี 2566 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประกาศผลดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI)ประเทศไทย ได้ 35 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 108 ของโลก จาก 180 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุด คือ 90 คะแนน เป็นอันดับ 1 ของโลก คือ ประเทศเดนมาร์ก, อันดับ 2 ฟินแลนด์ได้ 87 คะแนน อันดับ 3 นิวซีแลนด์ ได้ 85 คะแนน

ขณะที่ไทย ได้ 35 คะแนนอยู่ในอันดับที่ 108 ของโลก และอยู่ในอันดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และสิงคโปร์ได้คะแนนสูงสุด 83 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก

ส่วนสหพันธรัฐมาเลเซีย ได้ 50 คะแนน และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้41 คะแนน ในภาพรวมคะแนนของไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีคะแนนลดลง ซึ่งมีจำนวน 63 ประเทศ ขณะที่ประเทศที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นมี 55 ประเทศ และมีประเทศที่คะแนนเท่าเดิม 62 ประเทศ สะท้อนว่า การประเมิน CPI ของไทยในสายตานานาชาติ ในปี 2566 ลดลงจากปี 2565

และหากนำหลักนิติธรรมมาจับ 1 คะแนนในปี 2566 ไทยได้ 0.49 % ปี 2567 ได้คะแนน 0.50 % ขยับเพิ่มขึ้นเพียง 0.01 % ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ 

พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวตอนหนึ่งในงานสัปดาห์ต่อต้านทุจริตและส่งเสริมจริยธรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วันนี้ ( 4 ธ.ค. 2567) ว่า ไทยให้ความสำคัญต่อการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น โดยมีระบุเป็นวาระสำคัญไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2560 หรือ รัฐธรรมนูญปราบโกง เด็กที่เกิดใหม่จะต้องมีหน้าที่ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและพฤติมิชอบทุกรูปแบบ ส่วนภาครัฐ คือ รัฐสภา ศาล รัฐบาล องค์กรอิสระ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องส่งเสริมและสนับสนุน ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐและภาคเอกชน

แม้จะมีกฎหมาย แต่การคอร์รัปชันก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ ทั้งในไทยและคนทั้งโลกด้วย การเมืองที่ปราศจากความรุนแรง โดยรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงระบุไว้ว่า ต้องมีการเมืองที่ปราศจากความรุนแรง ไม่ใช้กฎหมายอยู่เหนือความเป็นธรรม โดยการบัญญัติกฎหมายจะต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม การบัญญัติกฎหมายจะไปละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ไม่ได้

“อยากให้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญ หาการทุจริตคอร์รัปชัน เช่นกัน โดยไทยตั้งเป้าว่า ในปี 2570 จะมีการยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index :CPI) ให้อยู่ใน 20 อันดับแรกของโลก ซึ่งคงต้องพยายามไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าวให้ได้”รมว.ยุติธรรม กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.ต่อภัสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้าน คอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค กล่าวในช่วงหนึ่งของการเสวนา “ถอดรหัสความสำเร็จต่อต้านคอร์รัปชัน ของสิงคโปร์และเกาหลีใต้สู่การปฎิบัติของไทย” ว่า หลายประเทศมีกฎหมายป้องกันทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งประเทศไทยต้องระวัง เนื่องจากเคยเกิดคดีสินบนข้ามชาติ”โรลส์-รอยซ์” ของการบินไทย ในสหรัฐอเมริกามีกฎหมายต่อต้านการทุจริตในต่างประเทศของสหรัฐฯ (FCPA) ห้ามไม่ให้ทำ

แม้ในทางปฎิบัติจะยังไม่ถูกใช้ แต่ในอนาคตหากมีคดีลักษณะนี้เกิดขึ้น สหรัฐฯ เกาเหลีและสิงคโปร์อาจปฎิเสธการซื้อสินค้า อาจทำให้บริษัทเอกชนหรือบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศในประเทศไทย เนื่องจากกลัวถูกปรับ

ส่วนที่เกาหลีใต้ การที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐผ่านระบบออนไลน์ ได้ง่าย ถือเป็นความสำเร็จในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง คดีทุจริตคอร์รัปชั่น การเปิดเผยข้อมูลจะทำให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม กล้าและพร้อมที่จะออกมาเปิดเผย ต่อต้านสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ต่างจากปัญหาที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้เมื่อคืนนี้ เมื่อ “ยุน ซอก-ยอล” ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ออกมาประกาศกฎอัยการศึก ต่อมาอีก 3 ชั่วโมงต้องยอมถอยหลังมีประชาชนออกมาชุมนุมกดดัน

“เกาหลีใต้กิโยตินกฎหมายสำเร็จ เพราะส่วนหนึ่งผู้มีอำนาจในรัฐบาลให้ความสำคัญ โดยประธานาธิปบดี นั่งเป็นประธานเอง มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงและถาวร ตัดสินใจเด็ดขาด ไม่กลับไปกลับมา จนไม่ได้เดินต่อ ที่สำคัญ มีตัวแทนจากหลากหลายศาสตร์ วิชาชีพในคณะทำงาน ไม่ใช่มีแค่กฎหมาย ส่วนไทย แม้จะมีกฎหมายต่อต้านการทุจริตจำนวนมากก็จริง ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวกฎหมาย แต่อยู่ที่การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นมากกว่า “ ผศ.ดร.ต่อภัสร์ กล่าว

ดร.มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) อธิบายว่า ปัจจุบันเกาหลีและสิงคโปร์ มีปัญหาคอร์รัปชันน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับไทย เพราะสิงคโปร์เคารพในหลักนิติธรรม มีการเปิดเผยข้อมูลของรัฐต่อสาธารณะ มีการจำกัดอำนาจรัฐและบทลงโทษทางกฎหมายที่เข้มข้น ไม่มีการใช้อำนาจรัฐเข้าไปแทรกแซงอำนาจเศรษฐกิจ จำกัดจำนวนโครงการสำคัญๆ

ส่วนเกาหลีใต้พบว่า การเติบโตของกลุ่มชั้นกลาง นายทุน ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ มีส่วนสำคัญในการผลักดันระบบแชโบล (เจ้าของกลุ่มบริษัทรายใหญ่ ผู้เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจเกาหลีใต้) ทำให้ภาคธุรกิจ สามารถเข้าไปกำกับดูแลนโยบายภาครัฐ ถือเป็นการเติบโตของคนรุ่นใหม่ของชนชั้นกลาง

“เกาหลีใต้ออกพ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า มีผลต่อบริษัทยักษ์ใหญ่ที่จะเข้ามาครอบงำกิจการในประเทศ และยังช่วยป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชันอีกทางหนึ่ง”

ขณะที่เจ้าหน้าที่ของไทย มีอภิสิทธิ์ในการใช้อำนาจมากเกินไป มีการคอร์รัปชันจากกระบวนการนิติบัญญัติ ในรูปแบบต่าง ๆ โกงในขั้นตอนทุจริตงบประมาณ และมีหลายหน่วยงานเข้าไปเกี่ยวข้อง และโกงแม้กระทั่งงบวิจัย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่ามีการของบไปใช้ในการทำวิจัยถึง 20,000 หมื่นล้านบาท โดยมีขบวนการคอร์รัปชันตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง โดยเฉือนงบกลางไป 2000 ล้านบาท แบ่งให้กับสถาบันราชภัฎและสถาบันราชมงคล รวม 4 สถาบัน

“ถามว่าจะทำอย่างไรเมื่อพบว่า กระบวนการนิติบัญญัติ ออกกฎหมายเอื้อประ โยชน์ให้นายทุนพรรคการเมือง” ดร.นิมิตร ตั้งคำถามทิ้งท้าย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *